ขั้นตอนตรวจเช็คและบำรุงรักษาคอมเพรสเซอร์
คอมเพรสเซอร์ เป็นอีกอุปกรณ์สำคัญในระบบทำความเย็น ต้องทำงานตลอดเวลาเพื่อให้ระบบทำความเย็นสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เนื่องด้วยการใช้งานที่ต่อเนื่อง จึงต้องทำการตรวจเช็คและบำรุงรักษาคอมเพรสเซอร์อย่างสม่ำเสมอ หากพบความผิดปกติในส่วนใดส่วนหนึ่ง จะได้ทำการซ่อมแซมได้ทันท่วงที ก่อนที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบทำความเย็น ขั้นตอนตรวจเช็คและบำรุงรักษาคอมเพรสเซอร์จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลยครับ
ทำความรู้จัก ก่อนทำการตรวจเช็คและบำรุงรักษาคอมเพรสเซอร์
คอมเพรสเซอร์ ( Compressor ) ทำหน้าที่เพิ่มความดันของสารทำความเย็นที่อยู่ในสถานะที่เป็นก๊าซ โดยคอมเพรสเซอร์จะดูดสารทำความเย็นที่เป็นก๊าซความดันและอุณหภูมิต่ำจากอิแวบโพเรเตอร์หรือคอยล์เย็นที่ผ่านเข้ามาทางท่อดูดของคอมเพรสเซอร์และอัดก๊าซนี้ให้มีความดันและอุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่งเข้าไปยังคอนเดนเซอร์ เพื่อไปกลั่นตัวเป็นของเหลวในคอนเดนเซอร์ด้วยการระบายความร้อนออกจากสารความเย็นอีกทีหนึ่ง จะเห็นได้ว่าคอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์ที่สร้างความดันของระบบจากด้านความดันต่ำไปยังความดันสูง โดยจะต้องใส่พลังงานให้กับคอมเพรสเซอร์
การแบ่งประเภทจะพิจารณาตามโครงสร้างของคอมเพรสเซอร์และอุปกรณ์ขับเคลื่อน แบ่งออกได้เป็น 3 แบบ
1. คอมเพรสเซอร์แบบเปิด (Open type Compressor)
2. คอมเพรสเซอร์แบบกึ่งปิด (Semi- Hermetic Compressor)
3. คอมเพรสเซอร์แบบหุ้มปิด (Hermetic Compressor)
ดูสินค้าคอมเพรสเซอร์เพิ่มเติมที่ https://www.coolinnotech.com/product-bitzer
10 ขั้นตอนตรวจเช็คและบำรุงรักษาคอมเพรสเซอร์
1. ช่องระบายอากาศ (Intake Vents) จากการติดตั้งที่มีข้อจำกัด สภาพแวดล้อมอาจทำให้ ช่องระบายอากาศสามารถอุดตันด้วยฝุ่นและสิ่งสกปรกได้ง่าย การตรวจสอบช่องระบายอากาศเข้า-ออก ควรทำเป็นประจำ เพื่อให้ชิ้นส่วนภายในของอุปกรณ์ทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยไม่เกิดความร้อนสูงเกินไป
2. แผ่นกรองอากาศ (Air Filters) คอมเพรสเซอร์จะไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และผลิตอากาศบริสุทธิ์ได้ หากตัวกรอง หรือฟิลเตอร์สกปรก แผ่นกรองอากาศจะเสื่อมสภาพลงเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป จึงจำเป็นต้องทำความสะอาดหรือเปลี่ยนตามเวลาที่กำหนด
3. ท่อ (Pipe) การตรวจสอบการอุดตันของท่อ และการปนเปื้อน ไม่ว่าจะเป็นสนิม ฝุ่น เศษขยะ หรือสิ่งสกปรกที่ทำให้เกิดการอุดตัน และมีผลกระทบให้วาล์วแรงดันลดลง และส่งผลให้คอมเพรสเซอร์ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ รวมไปถึงค่าไฟ และพลังงานที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้คอมเพรสเซอร์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ทำงานหนักมากขึ้น เพื่อประสิทธิภาพเท่าเดิม
4. การควบแน่นของคอมเพรสเซอร์ (Compressor Condensation) ในกระบวนการทำความเย็นของคอมเพรสเซอร์ ความชื้นจะถูกนำออกในกระบวนการการทำความเย็น ทำให้เกิดการควบแน่น ซึ่งอาจจะรบกวนคุณภาพของอากาศที่ผลิตออกมาได้ และทำให้เกิดสนิมในอุปกรณ์ ที่ส่งผลให้วงจรไฟฟ้าภายในเสียหาย การควบแน่นที่มากเกินไปอาจเกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ความชื้นและอุณหภูมิ ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ช่างเทคนิคจำเป็นต้องพิจารณาเมื่อทำการบำรุงรักษาคอมเพรสเซอร์
5. การสูญเสียความดัน (Pressure Loss) หากมีแรงดันตกมากกว่า 10% คอมเพรสเซอร์จะรับภาระเกินความจำเป็น เมื่อคอมเพรสเซอร์ของคุณอยู่ภายใต้สภาวะดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดการสึกหรอ และจำเป็นต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนก่อนที่จะมีปัญหาที่ใหญ่กว่าเกิดขึ้น
6. น้ำมันหล่อลื่น (Lubricant) อีกหนึ่งกุญแจสำคัญในการทำงานของคอมเพรสเซอร์ เพื่อการทำงานที่ราบรื่นของชิ้นส่วนประกอบภายในของคอมเพรสเซอร์และ ทำให้เกิดการสึกหรอน้อยที่สุด ควรเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นทุก 3-6 เดือน เพื่อหลีกเลี่ยงการกัดกร่อน ที่เกิดขึ้นกับข้อต่อ ที่อุปกรณ์ ที่ส่งผลให้เกิดสนิมได้
7. ตัวกรองน้ำมันเครื่อง (Oil Filter) คุณไม่ควรปล่อยให้คอมเพรสเซอร์ทำงานโดยไม่มีน้ำมันและตัวกรองที่ถูกต้อง ควรเปลี่ยนตัวกรองตามกำหนด หรือ 4,000-8,000 ชั่วโมง เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของน้ำมันภายใน
8. ตลับลูกปืน (Motor Bearings) ต้องแน่ใจเสมอว่าตลับลูกปืน มีจาระบีเพียงพอ เพื่อให้มอเตอร์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หากไม่มีการหล่อลื่นเพียงพอ ตลับลูกปืนอาจมีการติดขัดได้
9.สายพาน (Belts)
การตรวจสอบสายพานเป็นอีกหนึ่งในขั้นตอนการตรวจสอบการบำรุงรักษาคอมเพรสเซอร์ที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของคุณได้ในระยะยาว ความตึงของสายพานที่เหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญในการทำงานที่ราบรื่น
นอกจากนี้ยังมีข้อพิจารณาอื่นๆ เล็กน้อย เช่น:
• ตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำมัน/อากาศ
• ระดับน้ำมัน
• แรงดันไฟฟ้า
• อุณหภูมิ
• แอมป์และแรงดัน
• เครื่องเป่าลม
• แรงสั่นสะเทือน
• คูลเลอร์ (Coolers)
หากกำหนดการบำรุงรักษา และตรวจสอบคอมเพรสเซอร์อยู่เสมอ จะทำให้เราเจอปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ที่จะเกิดขึ้นเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตได้เร็วกว่า และสามารถลดเวลาหยุดทำงานของอุปกรณ์ให้เหลือน้อยที่สุดได้
ความถี่ในการตรวจเช็คและบำรุงรักษาคอมเพรสเซอร์
สำหรับตารางการบำรุงรักษาคอมเพรสเซอร์ สามารถแบ่งการดูแล หรือรายการตรวจสอบได้เป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายไตรมาส และตั้งค่าการเตือนสำหรับแต่ละรายการเพื่อติดตาม รวมไปถึงการดูแลให้ผู้รับผิดชอบงานในตำแหน่งได้รับการฝึกอบรมและอัพเดทข่าวสารที่ทันสมัยอยู่เสมอเป็นสิ่งสำคัญ ในการดูแลรักษาคอมเพรสเซอร์และอุปกรณ์ทำความเย็นให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์และพร้อมที่จะทำงาน
รายการตรวจเช็คและบำรุงรักษาคอมเพรสเซอร์รายวัน
• สิ่งกีดขวางช่องระบายอากาศและตัวกรอง
• ระดับน้ำมัน
• สวิตช์ความดันทำงานหรือไม่
• ตรวจสอบการหล่อลื่น
• เทน้ำออกจากถังเก็บลมอัด (receive tank)
• ปัจจัยภายนอกที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน เช่นน้ำบนพื้น ฝุ่นในอากาศ และความชื้น
• ความเย็นที่เกิดขึ้น และความร้อนของคอมเพรสเซอร์
รายการตรวจเช็คและบำรุงรักษาคอมเพรสเซอร์รายสัปดาห์
• ตรวจสอบระดับน้ำมัน
• ทำความสะอาดคูลเลอร์
• ตรวจสอบการควบแน่น
• ตรวจสอบสายพาน (ความแข็งแรง,ตำแหน่ง)
• ตรวจสอบอุณหภูมิ
• ตรวจสอบแอมป์และแรงดันไฟ
• ตรวจสอบการอ่านจอแสดงผล
• ตรวจสอบองค์ประกอบของตัวกรอง
รายการตรวจเช็คและบำรุงรักษาคอมเพรสเซอร์รายเดือน
• เช็คคอมเพรสเซอร์รายเดือน
• ตรวจสอบและทำความสะอาดเครื่องเป่า
• ตรวจสอบวาล์วระบายน้ำ
• ทำความสะอาดตัวกรอง
รายการตรวจเช็คและบำรุงรักษาคอมเพรสเซอร์รายไตรมาส
• ตรวจสอบองค์ประกอบกรองอากาศ
• ตรวจสอบชั่วโมงการทำงาน
• ตรวจสอบการทำงานของแต่ละหน่วยทำความเย็น
การตรวจเช็คและบำรุงรักษาคอมเพรสเซอร์ควรทำโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ควรให้ผู้รับผิดชอบงานในตำแหน่งได้รับการอบรมความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับคอมเพรสเซอร์และระบบทำความเย็น เพื่อลดปัญหาความเสียหายในระยะยาว เนื่องจากคอมเพรสเซอร์มีความสำคัญยิ่งในระบบทำความเย็น ที่ค่อนข้างมีราคาสูง มีชิ้นส่วนซับซ้อน และเสี่ยงกับความผิดพลาดสูง
ประโยชน์ของการตรวจเช็คและบำรุงรักษาคอมเพรสเซอร์เป็นประจำ
• หลีกเลี่ยงการหยุดทำงานของอุปกรณ์โดยไม่จำเป็น
• ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม
• สามารถควบคุมกำหนดการบำรุงรักษาล่วงหน้าได้ โดยไม่รบกวนเวลาปฏิบัติงาน
• ต้นทุนพลังงานลดลง
• เพิ่มประสิทธิภาพและวงจรชีวิตของอุปกรณ์
• ป้องกันการทำให้การเสียหายรุนแรงนอกเหนือการรับประกัน
• เพิ่มความปลอดภัยให้กับธุรกิจ และบุคลากรของคุณ
คอมเพรสเซอร์ที่ได้รับการตรวจเช็คบำรุงรักษาอยู่เสมอ จะช่วยให้เราใช้งานคอมเพรสเซอร์ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และประหยัดพลังงานอีกด้วย หากคุณกำลังมองหาคอมเพรสเซอร์ใหม่ หรืออะไหล่คอมเพรสเซอร์ Bitzer ทาง Cool Innotech เรามีจำหน่ายและให้บริการอย่างครบถ้วนตอบทุกโจทย์ความต้องการครับ