การเลือกใช้ คอยล์เย็น
ให้เหมาะกับการใช้งาน
ในระบบทำความเย็น
ทำความรู้จัก คอยล์เย็น (Evaporator)
คอยล์เย็น (Evaporator) ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อนจากบริเวณที่ต้องการทำความเย็น
ซึ่งมีสารทำความเย็นทำความเย็นอยู่ภายใน โดยทำให้สารทำความเย็นเดือดจนมีสถานะ
กลายเป็นไอ และสามารถดูดซับความร้อนจากพื้นผิวของคอยล์เย็นได้
คอยล์เย็นส่วนใหญ่จะมีแผงท่อครีบ และพัดลมอยู่ ซึ่งมีหน้าที่เป่าลมหรือดูดลมเพื่อช่วย
ในการระบายความเย็นของคอยล์เย็น และอากาศที่ไหลผ่านคอยล์เย็นนี้จะถูกดูดเอาความร้อน
ออกเพื่อเปลี่ยนเป็นความเย็น
คอยล์เย็นเป็นหนึ่งในอุปกรณ์หลักของระบบทำความเย็นที่มีความสำคัญมาก
การออกแบบคอยล์เย็นให้เหมาะสมจึงมีความสำคัญต่อระบบทำความเย็น
นอกจากช่วยรักษาสภาพสินค้าให้คงเดิมเป็นระยะเวลานาน
ยังให้ประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานได้อีกด้วย
ดูข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์หลักในระบบทำความเย็น
หลักการออกแบบคอยล์เย็น (Evaporator)
• การถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer)
- การถ่ายเทความร้อน (ความเย็น) โดยการนำ (Conduction)
เป็นการนำความเย็นจากท่อทองแดงที่เป็นแหล่งกำเนิดความเย็นไปสู่ฟินคอยล์
- การถ่ายเทความร้อน (ความเย็น) โดยการพา (Convection)
เป็นการพาความเย็นจากฟินคอยล์สู่ห้องโดยอาศัยอากาศเป็นตัวพา คอยล์เย็นอาศัยหลักการ
พื้นฐานของการถ่ายเทความร้อนทั้งสองแบบ แต่การออกแบบคอยล์เย็นยังมีส่วนสำคัญ
อีกส่วนหนึ่งของการออกแบบ นั่นคือ การคำนวณหาพื้นที่การแลกเปลี่ยนความร้อน
คอยล์เย็นจำเป็นต้องอาศัยหลักการออกแบบและคำนวณให้ถูกต้องเหมาะสม
ตามหลักวิศวกรรมที่ดี ในอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยระบบทำความเย็นนั้น
ต้องให้ความสำคัญในรายละเอียดส่วนนี้ด้วย เพราะมีผลในระยะยาวเกี่ยวกับค่าพลังงานไฟฟ้า
ที่ต้องจ่าย ความคงทน ความปลอดภัยในการใช้งาน เพราะเมื่อคอยล์เย็นเกิดปัญหา
ย่อมส่งผลเสียต่อสินค้าภายในห้อง และสินค้าที่เก็บส่วนใหญ่มักมีราคาสูงกว่า
ส่วนต่างราคาของคอยล์เย็นที่เพิ่มขึ้น
• การออกแบบภายในท่อ
การออกแบบท่อสารทำความเย็นในคอยล์เย็นให้ภายในท่อให้เกิดการไหล
แบบปั่นป่วน (Turbulent) ทำให้สารทำความเย็นสามารถแลกเปลี่ยนความร้อน (เย็น)
กับท่อฯ ได้ดีขึ้น มีผลทำให้ประสิทธิภาพของคอยล์เย็นดีขึ้น
โดยท่อที่ดีควรมีความหนาเพื่อเสริมความแข็งแรงของคอยล์ไม่ให้รั่วหรือแตกร้าวง่าย
เมื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตคอยล์เย็นในส่วนการขยายตัว (Expansion)
ของท่อทนต่อแรงดันและแรงบิดตัวได้ดีในการใช้งาน
• การออกแบบฟินคอยล์
การออกแบบฟินคอยล์ที่เหมาะสมต้องทำให้อากาศที่ไหลผ่านฟินคอยล์
เป็นแบบปั่นป่วน (Turbulent) การไหลแบบปั่นป่วนนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการพา
ความร้อน (เย็น) ได้ดี แต่ถ้าปั่นป่วนมากไปจะเกิดความดันตก (Pressure Drop)
ซึ่งเป็นความสูญเสียที่จะต้องเพิ่มขนาดของพัดลมให้มีกำลังสูงขึ้น
เพื่อสร้างความดันสูงเอาชนะความดันตกในคอยล์
• การออกแบบการละลายน้ำแข็งด้วยไฟฟ้า
ในห้องเย็นที่อุณหภูมิห้องต่ำศูนย์องศาเซลเซียส หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดน้ำแข็งขึ้นที่คอยล์เย็น
ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นลดลง น้ำแข็งจึงเป็นอุปสรรคและ
เป็นสิ่งไม่พึงประสงค์สำหรับห้องเย็น เมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
จึงจำเป็นต้องหาทางจัดการกับน้ำแข็งที่เกิดขึ้นด้วยการละลาย
• การออกแบบการเลือกใช้พัดลม
อากาศเป็นตัวกลางในการนำความเย็นไปสู่สินค้า โดยเป็นตัวพาความเย็นจากคอยล์เย็น
ไปสู่สินค้า ดังนั้นจำเป็นต้องเลือกอุปกรณ์ที่จะส่งลมให้เหมาะสม
เพราะถ้าเลือกพัดลมไม่ดี ย่อมสามารถก่อให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังได้
ดูข้อมูลเกี่ยวกับพัดลม
เลือกใช้คอยล์เย็นที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน
(ระบุมาตรฐาน)
ก่อนตัดสินใจเลือกใช้งานของอุปกรณ์ใดๆ รวมถึงคอยล์เย็น สิ่งแรกที่ควรพิจารณาคือ
ต้องมีการรับรองมาตรฐาน เพราะมาตรฐานเป็นเครื่องกลั่นกรองและการันตีคุณภาพของสินค้า
รวมทั้งประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับสูงสุด คอยล์เย็นที่เป็นอุปกรณ์หลักในระบบทำความเย็น
ทั้งในงานอุตสาหกรรมและในเชิงพาณิชย์ มีมาตรฐานรองรับ มีสถาบันให้การรับรอง
และเป็นที่น่าเชื่อถือ ซึ่งให้การรับรองค่าการทำความเย็นที่ระบุในแคตตาล็อคว่าได้ตามจริง
เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการเลือกซื้อสินค้านั้น ๆ สินค้าที่ได้การรับรอง
จากทางสถาบันฯ จะได้รับตราที่เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความมั่นใจในการเลือกใช้สินค้านั้น ๆ
คอยล์เย็น สำหรับห้องแช่แข็งเร็ว (Air Blast Freezer)
เป็นคอยล์เย็นสำหรับแช่เยือกแข็งอาหาร ที่ถูกควบคุมอุณหภูมิห้องอยู่ที่อุณหภูมิ -30 ถึง -35 องศาเซลเซียส สำหรับฟรีซสินค้าให้เย็นเร็ว โดยไม่ทำให้เซลล์เกิดความเสียหาย
ประเภทของสินค้าที่เป็นจำพวกอาหาร ได้แก่ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล หรือรวมถึงผลไม้แช่แข็ง
ให้แข็งในเวลาอันรวดเร็วอยู่ในช่วงอุณหภูมิที่ต้องการ เช่น ผักและผลไม้จะต้อง
ลดอุณหภูมิให้เร็วไม่ทำให้ผนังเซลล์เกิดแตก ซึ่งการเกิดจากการขยายตัว
ของน้ำแข็ง (เกล็ดน้ำแข็ง)ในเซลล์ หรือการลดอุณหภูมิอาหารทะเลส่งออก
จะต้องพยายามไม่ทำให้ เกิดขยายตัวของเกล็ดน้ำแข็งภายในเนื้อเซลล์
เพราะจะทำให้เซลล์แตก คุณภาพและรสชาติอาหาร
ก็จะเปลี่ยนไป โดยทั่วไปจะใช้เวลาในการ Blast Freezer ประมาณ 2- 4 ชม.
สำหรับแช่ฟรีซเนื้อสัตว์ ผักหรือผลไม้ เพื่อการเก็บรักษาให้ได้นานยิ่งขึ้น
คอยล์เย็น (Evaporator) แบรนด์ “ HISPANIA ” รุ่น HEB แบบแขวนติดเพดาน
คุณสมบัติ
- ใช้พัดลมที่มีคุณภาพสูง ( พัดลม แบรนด์ EBM / แบรนด์ Ziehl Abegg )
- ฟินอลูมิเนียมเคลือบสารป้องกันการกัดกร่อน (Coated Blue Fin)
- ผ่านการทดสอบแรงดันที่ 30 บาร์
- ผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพสูงและทนการกัดกร่อนได้ดี
- ใช้ท่อทองแดงที่มีเกลียวด้านใน (Inner Grooved Copper Tube)
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนความร้อนให้ดียิ่งขึ้น
คอยล์เย็น สำหรับห้องเย็นไลน์ผลิต (Processing Room)
เป็นคอยล์เย็นที่เหมาะสำหรับห้องเย็นที่ต้องการ เสียงเบา ลมไม่แรง
และลมไม่ทำให้คนภายในห้องเย็นสะท้านหนาว เช่น ห้องเย็นไลน์ผลิตที่มีคนทำงาน
ห้องเย็นที่มีพื้นที่แคบ โดยลมร้อนจะถูกดูดจาก ด้านล่างด้วยพัดลม
และถูกส่งออกมาเป็นลมเย็นด้านข้าง ซ้าย-ขวา สองด้าน
คอยล์เย็น (Evaporator) แบรนด์ “ HISPANIA ” รุ่น HED
คุณสมบัติ
-ใช้พัดลมที่มีคุณภาพสูง ( พัดลม EBM / Ziehl Abegg)
-เสียงเบา
-ฟินอลูมิเนียมเคลือบสารป้องกันการกัดกร่อน (Coated Blue Fin)
-ผ่านการทดสอบแรงดันที่ 30 บาร์
-ผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพสูงและทนการกัดกร่อนได้ดี
-ใช้ท่อทองแดงที่มีเกลียวด้านใน (Inner Grooved Copper Tube)
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนความร้อนให้ดียิ่งขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า คอยล์เย็น
สรุป
หลักในการเลือกคอยล์เย็นนั้น ไม่สามารถเปรียบเทียบจากขนาดและจำนวนพัดลม
จากคอยล์เย็นต่างยี่ห้อกันได้ เพราะเป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการออกแบบ
คอยล์เย็นเท่านั้น คอยล์เย็นบางยี่ห้อมีประสิทธิภาพของคอยล์เย็นที่ดีจึงใช้ขนาดของพัดลม
ที่เล็ก และจำนวนพัดลมที่น้อย สามารถทำความเย็นได้ตามที่ต้องการซึ่งแตกต่าง
กับคอยล์เย็นบางยี่ห้อต้องใช้ขนาดและจำนวนพัดลมที่มาก
เพื่อที่จะได้ความสามารถในการทำความเย็นตามที่ต้องการ
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับคอยล์เย็นเพิ่มเติม
สามารถทักสอบถามได้ ที่นี่ เลยครับ ทีมงาน Cool Innotech
พร้อมให้คำแนะนำทุกเรื่องเกี่ยวกับระบบทำความเย็นครับ