หลักการเลือกใช้ “คอนเดนเซอร์” (Condenser)
เพื่อประสิทธิภาพของระบบทำความเย็นที่ดีที่สุด
อุปกรณ์ที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งของระบบทำความเย็นก็คือคอนเดนเซอร์
หรือโดยทั่วไปอาจจะเรียกว่าคอยล์ร้อนซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่รับสารทำความเย็น
ในสถ านะที่เป็นไอที่ส่งมาจากคอมเพรสเซอร์นั่นเอง
คอนเดนเซอร์ (Condenser) หรือที่เรียกกันว่าคอยล์ร้อนนี้พบได้
ในระบบทำความเย็นทั่วไป ตั้งแต่ระบบปรับอากาศทั้งในอาคาร
รถยนต์ไปจนถึงห้องแช่แข็ง ซึ่งการจะเลือกใช้ให้เหมาะสม
และเพื่อประสิทธิภาพของระบบทำความเย็น เราจำเป็นต้องมาทำความรู้จัก
กับอุปกรณ์หลักชิ้นนี้กันก่อนครับ
ทำความรู้จักคอนเดนเซอร์ (Condenser) หรือ คอยล์ร้อน
คอนเดนเซอร์ (Condenser) หรือ คอยล์ร้อน หรืออาจจะเรียกว่า เครื่องควบแน่น เป็นอุปกรณ์ภายในระบบทำความเย็น มีหน้าที่ เปลี่ยนสถานะน้ำยาในสภาวะไอที่มีอุณหภูมิและความดันสูงให้กลั่นตัวเป็นของเหล ว สารทำความเย็นที่เข้ามาในคอนเดนเซอร์จะมีสถานะเป็นไอและมีความร้อนสูงเพร าะได้รับความร้อนและความดันสูงจากคอมเพรสเซอร์ เมื่อสารทำความเย็นไหลผ่านผนังของคอนเดนเซอร์ จากสถานะเป็นไอก็จะกลายเป็นของเหลว โดยมีตัวกลางระบายความร้อนได้แก่ อากาศ น้ำ กับทั้งน้ำและอากาศ เพื่อดึงเอาความร้อนออกไปโดยที่ยังคงมีความดันอยู่เท่าเดิม
ดูข้อมูลเกี่ยวกับสารทำความเย็น
ประเภทของคอมเพรสเซอร์ ใน ระบบทำความเย็น
คอนเดนเซอร์ (Condenser) หรือ คอยล์ร้อน หรืออาจจะเรียกว่า เครื่องควบแน่น
เป็นอุปกรณ์ภายในระบบทำความเย็น มีหน้าที่ เปลี่ยนสถานะน้ำยาในสภาวะไอที่มีอุณหภูมิ
และความดันสูงให้กลั่นตัวเป็นของเหล ว สารทำความเย็นที่เข้ามาในคอนเดนเซอร์จะมีสถานะเป็นไอ
และมีความร้อนสูงเพร าะได้รับความร้อนและความดันสูงจากคอมเพรสเซอร์
เมื่อสารทำความเย็นไหลผ่านผนังของคอนเดนเซอร์ จากสถานะเป็นไอก็จะกลายเป็นของเหลว
โดยมีตัวกลางระบายความร้อนได้แก่ อากาศ น้ำ กับทั้งน้ำและอากาศ
เพื่อดึงเอาความร้อนออกไปโดยที่ยังคงมีความดันอยู่เท่าเดิม
ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า คอนเดนเซอร์
ประเภทของคอนเดนเซอร์ หรือ คอยล์ร้อน
แบ่งได้ 3 ประเภท
คอนเดนเซอร์ถูกจำแนกเป็นหลายประเภท ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน
เพราะการระบายความร้อนเพื่อทำความเย็นนั้นมีหลายรูปแบบ และเนื่องจากระบบนี้จะต้องใช้
ทั้งน้ำและไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อน จึงจำเป็นต้องคำนวณค่าใช้จ่ายเรื่องค่าน้ำและค่าไฟ
เพื่อการเลือกให้เหมาะสมด้วย คอนเดนเซอร์ หรือ คอยล์ร้อน
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. การระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooled Condenser)
2. การระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water Cooled Condenser)
3. และการระบายความร้อนด้วยน้ำและอากาศ
หรือที่เรียกว่าการระบายความร้อนแบบระเหย (Evaporative Condenser)
หลักการทำงานของคอนเดนเซอร์ (คอยล์ร้อน)
แต่ละประเภท
1. การระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooled Condenser)
คอนเดนเซอร์ (คอยล์ร้อน) แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooled Condenser)
จะใช้อากาศเป็นตัวกลางในการระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น เพื่อให้สารทำความเย็น
ในสถานะที่เป็นไอกลั่นตัวเป็นของเหลวอีกครั้ง โดยทั่วไปแล้วคอนเดนเซอร์ชนิดนี้จะเป็นท่อทองแดงรูปตัวยู สอดอยู่ในแผ่นครีบอลูมิเนียม เพื่อเพิ่มพื้นผิวในการถ่ายเทความร้อน
แต่ปัจจุบันรูปแบบคอยล์ร้อนที่มีท่อทองแดงได้มีการพัฒนาขึ้น เป็นรูปแบบ คอยล์อลูมิเนียม
ที่มีประสิทธิภาพการระบายความร้อนที่ดีขึ้น คอนเดนเซอร์แบบการระบายความร้อน
ด้วยอากาศ นิยมนำไปใช้ในเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก หรือตู้เย็น ตู้แช่โดยสามารถแบ่งได้เป็น
1.1 แบบใช้อากาศธรรมชาติหมุนเวียน
นิยมใช้ชนิดท่อและครีบ (Finned-Tube Condenser) ทำจากท่อทองแดงรูปตัวยู
และมีแผ่นอลูมิเนียมบางเป็นครีบเพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ในการระบายความร้อนได้ดีขึ้น
สำหรับคอนเดนเซอร์แบบท่อเรียบนั้นจะติดตั้งไว้ที่ด้านหลังหรือด้านใต้ของตู้เย็นเพื่อให้ระบายอากาศได้สะดวก
1.2 แบบใช้พัดลมช่วย
การระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น โดยยังคงเป็นหลักการใช้อากาศธรรมชาติ
แต่ทำให้ได้อากาศไหลผ่านคอนเดนเซอร์ได้มากขึ้น
แบ่งเป็น 2 แบบคือ
1.2.1 แบบอยู่บนแท่นเดียวกับคอมเพรสเซอร์ (Chassis Mounted)
ซึ่งจะยึดติดกับแท่นคอมเพรสเซอร์และมอเตอร์ โดยรวมเอาทุกชิ้นส่วนอยู่ในแท่นเดียวกัน
เรียกว่า “คอนเดนซิ่งยูนิต” เหมาะกับเครื่องทำความเย็นขนาดเล็ก
แต่มีข้อเสียในเรื่องความสกปรกเพราะตั้งอยู่บนพื้น อากาศที่เข้าไปในคอนเดนเซอร์
มีฝุ่นไปติดอยู่จำนวนมากทำให้ระบายความร้อนได้ไม่ดี
1.2.2 แบบแยกอิสระ (Remote)
คอนเดนเซอร์จะติดตั้งแยกออกจากคอมเพรสเซอร์ สามารถติดตั้งได้ทั้งภายนอก
และภายในอาคาร โดยพิจารณาจากตำแหน่งและประโยชน์จากแรงลมธรรมชาติให้ได้มากที่สุด
คอนเดนเซอร์ชนิดนี้จะใช้การติดตั้งพัดลมหรือโบลเวอร์เพื่อช่วยในการเพิ่มปริมาณลมที่ผ่านผิวของคอนเดนเซอร์ซึ่งข้อดีของชนิดนี้จะช่วยลดขนาดและรูปร่างของคอนเดนเซอร์ได้
ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า พัดลมคอมเพรสเซอร์
2. การระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water Cooled Condenser)
คอนเดนเซอร์ หรือ คอยล์ร้อน แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water Cooled Condenser)
โดยจะให้ น้ำเป็นตัวกลางในการลดความร้อนจากคอนเดนเซอร์ โดยทั่วไปมักนิยมใช้
แบบระบายความร้อนด้วยน้ำในระบบทำความเย็นขนาดใหญ่
หรือเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ แบ่งเป็น 2 ระบบคือ
2.1 ระบบหล่อเย็นแล้วทิ้ง (Wastewater System)
น้ำที่ไหลผ่านเข้าไปหล่อเย็นในคอนเดนเซอร์แล้วจะถูกระบายทิ้งหลังจากการระบายความร้อนแล้ว
สิ่งสำคัญในการใช้งานระบบนี้คือการคำนวณค่าน้ำเพื่อหาปริมาณการไหลของน้ำที่เหมาะสม
โดยคิดจากความสมดุลระหว่างค่าน้ำและพลังงาน
2.2 ระบบน้ำหล่อเย็นแล้วกลับมาใช้ได้อีก (Re-Circulated Water System)
น้ำที่เข้าไประบายความร้อนในคอนเดนเซอร์แล้วไหลไปตามท่อ
และไปยังหอทำความเย็น (Cooling Tower) เพื่อลดอุณหภูมิของน้ำและสามารถหมุนเวียน
กลับไปใช้งานได้ใหม่
3. การระบายความร้อนด้วยน้ำและอากาศ (Evaporative Condenser)
คอนเดนเซอร์ (คอยล์ร้อน) แบบระบายความร้อนด้วยน้ำและอากาศ (Evaporative Condenser)
คอนเดนเซอร์ชนิดนี้จะใช้น้ำและอากาศในการระบายความร้อนร่วมกัน
โดยอากาศจะดูดเข้าที่ส่วนล่างของเครื่อง ผ่านสัมผัสกับคอยล์คอนเดนเซอร์
อากาศจะไหลผ่านทะลุออกทางด้านบนของเครื่อง จะรับความร้อนจากคอยล์คอนเดนเซอร์
และระหว่างนั้นปั๊มน้ำจะดูดเอาดูดเอาน้ำจากถังพักส่วนล่างผ่านขึ้นไปสเปรย์
โดยจะฉีดน้ำให้เป็นฝอย เพื่อรับความร้อนจากคอยล์ น้ำที่ตกผ่านคอยล์ลงมาจะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น
เพื่อให้สารทำความเย็นเป็นสถานะจากไอเป็นของเหลว แต่กระบวนการทำงานนี้
น้ำอาจจะสูญเสียไป จึงจำเป็นต้องมีระบบจ่ายน้ำจากภายนอก
และมีการควบคุมการกักเก็บน้ำโดยลูกลอย เพื่อไม่ให้น้ำล้นออกจากถังกักเก็บ
การบำรุงรักษาคอนเดนเซอร์
คอนเดนเซอร์เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ไม่ต้องดูแลรักษาบ่อย แต่ควรดูแลเรื่องของการหล่อลื่น
ลูกปืนพัดลมและผิวหน้าของคอนเดนเซอร์ที่ไม่ควรให้มีฝุ่นจับมากเกินไป
โดยเฉพาะคอนเดนเซอร์แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ ที่มักมีคราบตะกรันซึ่งต้องดูแล
ความสะอาดอยู่บ่อยๆ เพื่อป้องการการสะสมของเชื้อโรคด้วยการใช้สารละลาย
กำจัดคราบตะกรัน โดยการถ่ายเอาน้ำออกให้หมดแล้วเติมน้ำสะอาดและสารประกอบที่ช่วย
ในกำจัดคราบตะกรัน จากนั้นปั๊มน้ำหมุนเวียนเพื่อให้สารประกอบนี้ทำความสะอาด
ได้ทั้งระบบจากนั้นถ่ายน้ำออกแล้วเติมน้ำสะอาดเข้าไปใหม่
สรุป
การเลือกรูปแบบการติดตั้งคอนเดนเซอร์หรือคอยล์ร้อนนั้นมีความสำคัญอย่างมาก
ในระบบทำความเย็น เพราะเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้สารทำความเย็นนั้นเปลี่ยน
จากสถานะที่เป็นไอเป็นของเหลวอีกครั้ง รวมถึงการถ่ายเทความร้อนออกจาก
สารทำความเย็นด้วย นอกจากนี้แล้วจึงต้องเลือกใช้งานคอนเดนเซอร์ในรูปแบบที่
เหมาะสมกับการทำความเย็นเพื่อประสิทธิภาพของการทำความเย็นที่สมบูรณ์ที่สุด
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับคอนเดนเซอร์เพิ่มเติม
สามารถทักสอบถามได้ ที่นี่ เลยครับ
ทีมงาน Cool Innotech พร้อมให้คำแนะนำทุกเรื่องเกี่ยวกับระบบทำความเย็นครับ