เคล็ดลับ “ประหยัดไฟ”
ลดค่าใช้จ่ายห้องเย็น
ห้องแช่แข็ง
ประเทศไทยอากาศค่อนข้างแปรปรวน ในวันหนึ่งมีทั้งร้อน ฝน และอากาศเย็น อุณหภูมิที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลให้ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง ทำงานหนักขึ้น และทำให้เสียพลังงานมากขึ้น ต้นทุนสูงขึ้น โดยพลังงานส่วนใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมห้องเย็นจะเป็นพลังงานไฟฟ้า
เพื่อใช้ในการเดินเครื่องทำความเย็น ซึ่งใช้ในกระบวนการแช่แข็งและกระบวนการเก็บรักษาวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูป จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมดูแลการใช้พลังงานของอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งถ้าเราประหยัดไฟได้นั่นหมายถึงต้นทุนลดลง กำไรก็เพิ่มขึ้น นั่นเอง
มาดูกันว่าเราจะลดค่าไฟฟ้าได้อย่างไร
Credit : www.google.com
ขนาดห้องกับการจัดเก็บ
มีส่วนสำคัญต่อการประหยัดไฟในห้องเย็น
ขนาดห้องกับการจัดเก็บ มีส่วนสำคัญต่อการประหยัดไฟในห้องเย็น
เลือกเครื่องทำความเย็นให้เหมาะสมกับการใช้งานและพื้นที่ในการใช้งาน
เพื่อให้ได้ความเย็นที่เหมาะสม ช่วยลดการสูญเสียพลังงาน และประหยัดไฟได้
เลือกใช้วัสดุฉนวนห้องเย็น และอุปกรณ์ทำความเย็นที่มีคุณภาพ
และมีมาตรฐานการผลิตเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของห้องเย็นและให้เสื่อมสภาพน้อยที่สุด
และช่วยให้ประหยัดพลังงานในระยะยาว จัดสรรพื้นที่การใช้งานและองค์ประกอบต่าง ๆ
ภายในห้องเย็นให้เหมาะสม การใช้ฉนวนห้องเย็นที่หนาขึ้นจะช่วยลดความร้อนจากภายนอก
และทำให้คุณประหยัดไฟได้อย่างเห็นได้ชัด
การตั้งค่าอุณหภูมิ ช่วยประหยัดไฟในห้องเย็นได้
1. ตั้งค่าอุณหภูมิให้เหมาะสมกับสินค้า สินค้ามีหลายประเภทแต่ละประเภทใช้อุณหภูมิการเก็บ
ไม่เท่ากัน เช่น เก็บผักผลไม้ โดยทั่วไปจะใช้แค่ 3 ถึง 8 องศา แต่ถ้าเราตั้งไว้ที่ต่ำกว่า
0 องศาเซลเซียส นอกจากจะทำให้เครื่องคอมเพรสเซอร์ทำงานนานและใช้ไฟฟ้ามากขึ้นแล้ว
ยังทำให้สินค้าเสียหายอีกด้วยฉะนั้นการตั้งค่า อุณหภูมิห้องเย็นแนะนำให้ตั้งค่าตามอุณหภูมิ
ที่สินค้าต้องการ จะช่วยประหยัดไฟได้
2. ควบคุมความชื้นและอุณหภูมิของสินค้าให้เหมาะสม ก่อนการแช่เยือกแข็ง ลดช่องเปิดต่างๆ
ที่เป็นเหตุของการสูญเสียพลังงานให้เหลือน้อยที่สุด และควรติดตั้งม่านพลาสติกกันความเย็น
เพื่อให้ได้อุณหภูมิที่สม่ำเสมอทั่วทั้งห้อง หลีกเลี่ยงการนำแหล่งความร้อน
เช่น การนำสินค้าที่มีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้องมากๆ เข้ามาในบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ
หรือการเข้า-ออกห้องเย็นโดยไม่จำเป็น และไม่ควรเปิดประตูห้องเย็นทิ้งไว้เป็นเวลานานๆ
3. ตั้งค่าช่วงเวลาในการตัดและต่อเครื่องคอมเพรสเซอร์ ควรตั้งค่าการหยุดทำงาน
และกลับมาทำงานอีกครั้งของคอมเพรสเซอร์ให้ห่างกัน สัก 6-8 องศา โดยปกติแล้วห้องเย็น
แบบห้องชิลแช่ผักผลไม้ จะใช้อุณหภูมิประมาณ 5 องศา และเมื่ออุณหภูมิได้ 5 องศาแล้ว
หลักการก็คือให้คอมเพรสเซอร์หรือเครื่องทำความเย็นสตาร์ทให้ไม่บ่อยเกินความจำเป็น
แบบว่า เดี๋ยวตัด เดี๋ยวต่อ เดี๋ยวตัด เดี๋ยวต่อ แบบนี้แสดงว่าเครื่องสตาร์ทบ่อย
อุณหภูมิห้ามปรับเปลี่ยนเกินกว่า 1-2 องศา ในลักษณะนี้ หากต้องการประหยัดไฟจริงๆ
4. ตั้งค่าช่วงเวลาการละลายน้ำแข็ง Defrost ห้องเย็นที่ใช้อุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส
ลงไป เช่น -10 หรือ -25 องศาเซลเซียส เป็นต้น ทุกห้องจะต้องมีระบบละลายน้ำแข็ง
หรือเรียกว่าดีฟรอสต์ ส่วนใหญ่จะใช้ฮีทเตอร์ทำความร้อนเพื่อละลายน้ำแข็งบริเวณคอยล์เย็น
ในห้องเย็น ที่ต้องละลายน้ำแข็งก็เพื่อไม่ให้น้ำแข็งไปเกาะที่คอยล์เย็น หากเกิดน้ำแข็งเกาะหนาขึ้น
จะทำให้ลมเย็นไม่ถูกส่งผ่านไปในห้องเพราะถูกน้ำแข็งกั้นบังเอาไว้
5. การจะประหยัดไฟได้นั้น ต้องทำให้ฮีทเตอร์ทำงานให้น้อยที่สุด
ของคอมเพรสเซอร์ มาช่วยละลายน้ำแข็ง จะช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟได้ดีทีเดียว
ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ เป็นแบบประหยัดไฟ
เลือกใช้อุปกรณ์ในระบบทำความเย็นที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพและช่วยประหยัดไฟได้
เลือกสีสว่างให้กับผนังห้อง จะช่วยลดการติดตั้งโคมไฟได้ ติดตั้งดวงไฟให้ตรงกับจุดที่ทำงาน
และเหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน เช่น เปิดเป็นแถว เปิดเฉพาะจุด ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน
เพื่อลดภาระการทำความเย็นภายในห้องเย็น เลือกใช้แผ่นฉนวนที่ได้ความหนาแน่นตามมาตรฐาน สำหรับเป็นผนังห้องเย็น เพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอก ลดภาระการทำงานของระบบทำความเย็น หรือการเลือกอุปกรณ์เอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการทำความเย็นได้เต็มที่ ทำให้ได้ความเย็นที่คงที่ คอมเพรสเซอร์ไม่ต้องตัดบ่อยๆ
ทำให้ประหยัดไฟและยืดอายุการใช้งานคอมเพรสเซอร์ให้ยาวนานขึ้นอีกด้วย
ข้อควรปฎิบัติเพื่อช่วยในการประหยัดไฟห้องเย็น
• อบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานห้องเย็นแก่พนักงานที่รับผิดชอบ
• ปิดประตูห้องแช่เยือกแข็งและห้องเย็นให้สนิททุกครั้งหลังจากปฏิบัติงาน
• เปิดปิดประตูให้น้อยลงถ้าเป็นไปได้ ถ้าเปิดปิดประตูห้องเย็นน้อย
ความเย็นไม่ออกไปนอกห้องก็จะช่วยประหยัดไฟได้
• อบรมพนักงานฝ่ายผลิตให้เข้าใจพื้นฐานของระบบทำความเย็น
อบรมช่างฝ่ายระบบทำความเย็นให้เข้าใจพื้นฐานของขั้นตอนการผลิต
• ระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายสินค้า ไม่กระแทกผนังห้องเย็นจนบุบหรือเป็นรอยรั่ว
การเก็บสินค้าในห้องเย็นก็จะมีภาชนะใส่สินค้า
เช่น ตะกร้า พาเลท หรืออื่นๆ หากพนักงานไม่ระวัง
โยนสินค้าไปกระแทกผนังห้องเย็นบุบ ยุบ หรือมีช่อง จะทำให้ลมเย็นรั่วไหลออกไปได้
หมั่นตรวจสอบห้องเย็น
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
• ตรวจดูพื้นที่ในการใช้งานต่าง ๆ เช่น การหมุนเวียน
การถ่ายเทอากาศ เพื่อลดการสูญเสียพลังงงาน
• ตรวจสภาพการทำงานของห้องเย็นเสมอ เช่น แผ่นฉนวน ผนังประตู
และล้างทำความสะอาดชุดทำความเย็น และชุดระบายความร้อนระบบเครื่องทำความเย็น
• ทำความสะอาดรังผึ้งแผงคอยล์ร้อนสม่ำเสมอ เมื่อเครื่องทำเย็นใช้งานไปได้
สักระยะ 6 เดือนถึง 1 ปี ฝุ่นจะเกาะที่แผงระบายความร้อนบริเวณชุดคอนเดนซิ่ง
หรือคอยล์ร้อนหนาขึ้น เมื่อเราต้องการประหยัดไฟ จึงต้องทำความสะอาดแผงคอยล์ร้อน
อาจจะเป่าลมก็ได้ เพียงเท่านี้ห้องเย็นก็จะระบายความร้อนได้ดีขึ้น
ก็จะช่วยประหยัดไฟได้แน่นอน เพราะเครื่องทำความเย็นทำงานน้อยลงนั้นเอง
• เช็คระดับน้ำยาสม่ำเสมอ ระบบน้ำยาสารทำความเย็น สามารถดูที่ อุปกรณ์ ไซด์กล๊าส
หรือที่ช่างชอบเรียกว่า ตาแมว ให้สังเกตว่ามีฟองอากาศอยู่ไหม ถ้ามีฟองอากาศอยู่เล็กน้อย
ยังถือว่าปกติ ถ้ามีฟองมาก ให้สันนิษฐานก่อนว่าอาจมีจุดรั่วของน้ำยา ถ้าตาแมวใสเลย
จะมีอยู่ 2 อย่าง น้ำยาหมด กับน้ำยาเต็ม ถ้าน้ำยารั่วออกหมด ห้องเย็นจะไม่เย็น
จะมีผลเสียกับหลายๆ อย่าง เช่น คอมเพรสเซอร์อาจร้อน ทำให้อายุการใช้งานสั้นลง
และ อุปกรณ์ไฟฟ้า ยังทำงานอยู่ โดยที่ไม่มีน้ำยา เหมือนการเสียค่าไฟไปฟรีๆ
ฉะนั้น การตรวจเช็คระดับน้ำยามีผลกับค่าไฟฟ้าเช่นกัน
สรุป
ห้องเย็นเป็นส่วนสำคัญมากในการประกอบธุรกิจด้านอาหาร หรือสินค้าที่ต้องใช้ห้องเย็น
ลูกค้าท่านใดที่มีห้องเย็นอยู่แล้วหรือกำลังตัดสินใจซื้อห้องเย็น ปัจจัยหนึ่งที่ลืมไม่ได้เลยนั่นก็คือ
ค่าไฟฟ้า ที่ใช้กับห้องเย็น เพราะในแต่ละเดือน ห้องเย็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่
ค่าไฟเริ่มต้นที่ หลักพันบาทแน่นอน ถ้าขนาดใหญ่ก็หลายหมื่นจนถึงหลักแสนก็มี
ลองทำตามวิธีการเหล่านี้ก็จะช่วยในการประหยัดไฟได้มากทีเดียว
ส่วนเจ้าของธุรกิจท่านใดที่สนใจอยากสร้างห้องเย็นให้เหมาะกับการจัดเก็บและประเภทสินค้า
โดยมีโจทย์หลักเรื่องการประหยัดไฟ ปรึกษาทีมงาน Cool Innotech ได้นะครับ
ทีมงานเราสามารถออกแบบห้องเย็น ห้องแช่แข็งตอบรับกับทุกโจทย์ที่ลูกค้าต้องการครับ