ความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพ “การแปรรูป” ผลิตผลสู่ชุมชน
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ทาง บริษัท คูลอินโนเทค จำกัด และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ทำการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อร่วมสนับสนุนการวิจัย การพัฒนา และร่วมกันถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี สำหรับเกษตรกร ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดเล็ก (SMEs) คณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และบุคลากรจากบริษัท คูลอินโนเทค จำกัด
ซึ่งความร่วมมือด้านวิชาการในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแปรรูปผลิตผล พัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์กับทางลูกค้า เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สร้างความยั่งยืนและเกิดประโยชน์กับส่วนรวมและสังคมสืบไป
โครงการ ปัญจสุวรรณผล การแปรรูปผลไม้ 5 อย่าง
ตัวอย่างโครงการที่ได้ใช้ประโยชน์จากความร่วมมือในครั้งนี้ ได้แก่ โครงการพิเศษเพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าผลไม้เขตร้อน “ปัญจสุวรรณผล” โดย ผส.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ นักวิจัยทีม FACTory Classroom ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และทีมวิจัยได้นำผลไม้ 5 อย่าง ได้แก่ มะม่วง มังคุด ทุเรียน มะพร้าว และสับปะรด มาแปรรูปให้เป็น สุวรรณผล ทำผลไม้ให้มีมูลค่าดุจทองคำ รับผลไม้ตั้งแต่ต้นทาง จากเกษตรกร ผลไม้ที่เหลือจากการคัดเพื่อส่งออก 50-70% ซึ่งคุณภาพผลผลิตยังดี เพียงแต่ผิวภายนอกอาจจะไม่สวย จึงได้นำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า และมีการพัฒนาต้นแบบของกระบวนการผลิตผลไม้เพิ่มมูลค่าโครงการธนาคารผลไม้เคลื่อนที่ “ธนผลสุวรรณ”
โครงการ ปัญจสุวรรณผล การแปรรูปผลไม้ 5 อย่าง
โครงการนี้ได้นำเอาองค์ความรู้จากต้นแหล่ง แล้วนำไปสู่พื้นที่ โดยนำโรงงานแปรรูปผลไม้เคลื่อนที่ (Lego Model) ไปตั้ง ก็คือชุดเครื่องจักร เราพัฒนากระบวนการระบบการประกันคุณภาพ ตั้งแต่ต้นน้ำ ระบบการรับซื้อ การแปรรูป ระบบการจัดการ จนได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นแช่เยือกแข็ง คือการนำเอา Hardware, Software, Peopleware และทำ Educationware ให้องค์ความรู้ ถ่ายทอดสิ่งที่คิด สิ่งที่ทำ ระบบมาตรฐานต่างๆ ถ่ายทอดไปที่หน้างาน โดยที่นักวิจัยได้ลงไปทำงานร่วมกับคนในพื้นที่ ก็เกิดประโยชน์ สร้างงานในพื้นที่ และทำให้ประชาชนได้กินผลไม้นอกฤดูกาลได้โดยที่มีรสชาติที่ดีเหมือนเดิม
การเก็บรักษาคุณภาพผลผลิตด้วย Mobbile Coldroom เพื่อรอการแปรรูป
ในช่วงวิกฤติโควิด ชาวสวนมังคุดต้องเจอกับปัญหามังคุดล้นตลาด ราคาตก ราคาขายหน้าสวนอยู่ที่ กิโลกรัมละ 5 บาท ในขณะที่ค่าตัด 15 บาท ทำให้ขาดทุน จนหลายรายตัดใจตัดต้นมังคุดทิ้ง ซึ่งเป็นที่น่าเสียดาย เพราะมังคุดเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สามารถสร้างผลกำไรได้หากอยู่ในสภาวะการณ์ปกติ
ทางสถาบันฯ จึงได้เกิดแนวคิดในการถนอมมังคุด และทำการแปรรูป เพื่อช่วยเหลือชาวสวน โดยการซื้อผลผลิต และนำมาเข้าสู่ขบวนการแปรรูป โดยความร่วมมือจาก บริษัท คูลอินโนเทค จำกัด ได้นำ Mobile Coldroom มาเพื่อใช้ในการเก็บรักษาเนื้อมังคุดให้ยังคงคุณภาพ ทั้งรสชาติ กลิ่น และได้ทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากมังคุดที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตได้อย่างมีเป้นที่น่าพอใจ จนมีชาวต่างชาติสนใจในผลิตภัณฑ์
โดยโครงการนี้สามารถเชื่อมต่อกับชุมชนที่พร้อมได้ทันที โดยการนำไปติดตั้งที่หน้างานได้เลย เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมของโรงงานให้เป็น Green Technology ชุมชนสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง ให้ชุมชนเข้มแข็งและมีความยั่งยืน